แหล่งเรียนรู้ » ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งศรี

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านทุ่งศรี

26 มีนาคม 2022
47   0

กลุ่มศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลทุ่งศรี เริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่อยากเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้น  ตัวผู้ใหญ่ นายธีรวัฒน์ ต๊ะวิกา หลังเรียนจบวิศวกรรมการเกษตรที่ ม.แม่โจ้ ไปทำงานเกือบสิบปี พอกลับมาบ้านเห็นว่าทุกอย่างในหมู่บ้านเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง เลยสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านพอได้เป็นผู้ใหญ่บ้านแล้ว  ได้รวบรวมคนที่มีความคิดเดียวกันร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเมื่อชาวบ้านเห็นผลดี ก็เข้ามาร่วมกันมากขึ้น จนขยายการมีส่วนร่วมครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน” โดยย้ำว่าการทำงานได้ ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพราะหมู่บ้านทุ่งศรีเป็นชุมชนเกษตรกร ซึ่งชาวบ้านจะคัดแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน มีการนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ ทั้งรณรงค์นำเศษอาหาร เศษฟางข้าว เศษใบไม้ ทำปุ๋ยหมัก ผลิตน้ำหมัก ทำถ่านอัดแท่งขาย ส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน จนปัจจุบันยกระดับการดำเนินการให้เป็นเศรษฐกิจชุมชน สร้างรายได้แก่ชาวบ้าน และตอบโจทย์ปัญหาได้ครอบคลุมทุกด้าน

จุดเด่น – ความสามัคคี  ความเข้มแข็ง  การบริหารจัดการกลุ่ม   , การมีอาชีพเสริม  การสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครอบครัว , การมีทักษะ  มีความรู้  ในการประกอบอาชีพ

การบริหารจัดการ

มีกฎ  กติกา  ระเบียบข้อตกลงกลุ่ม

  1. สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำงานและมีความรับผิดชอบร่วมกันทุกคน
  2. สมาชิกแต่ละครอบครัวมีหน้าที่หมุนเวียนในการดูแลรับผิดชอบในแต่ละวัน เช่น การให้อาหารการเก็บผลผลิต  การอยู่เวรยาม  การบันทึกบัญชี  และอื่นๆ
  3. สมาชิกในครอบครัวสามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้
  4. สวัสดิการหรือผลประโยชน์ที่ได้รับในกลุ่ม จัดสรรตามหลักการความเป็นจริงหรือตามมติที่ประชุมการจัดการองค์ความรู้ในวิถีชุมชน ของการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนมิติต่างๆสู่ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ลดมลพิษ และเศรษฐกิจพอเพียง คว้ารางวัล ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา จากสถาบันสิ่งแวดล้อมร่วมกับบริษัทโตโยต้าประเทศไทยจำกัดหมู่บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ นั้นได้มีวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง ธรรมชาติยั่งยืน ” ที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายในการพัฒนา เพื่อให้เป็นหมู่บ้านแบบพึ่งพาตนเอง โดยทุกๆ กิจกรรม ทุกโครงการ ที่จะดำเนินการในหมู่บ้านจะต้องเกิดจากความต้องการของคนในชุมชน เริ่มจากช่วยกันคิดและร่วมกันทำ เพื่อเป้าประสงค์เดียวกัน คือการอยู่ได้ด้วยความพอเพียง การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการลดการเผา จนได้รับรางวัลลดเมืองร้อนด้วยมือเรา จากสถาบันสิ่งแวดล้อมร่วมกับบริษัทโตโยต้าประเทศไทยจำกัดจัดขึ้น

นายธีรวัฒน์ ต๊ะวิกา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี กล่าวว่า ในความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้านจนได้รับรางวัลนั้น สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่รางวัล แต่เป็นเรื่องของการสร้างคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ให้อยู่ดีมีสุข และยังสามารถเป็นชุมชนต้นแบบในการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ซึ่งนับว่าเป็นความภาคภูมิใจของบ้านทุ่งศรี หมู่ที่ 3 เป็นอย่างมาก

โดยกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของตำบลทุ่งศรี  ทางกลุ่มศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลทุ่งศรี ได้ทำฐานการเรียนรู้เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจเข้าเรียนรู้ได้ตลอด คือ

  1. ฐานเศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีการเปิดบ้านการเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัวการฝึกปฏิบัติ การคัด เพาะพันธุ์เมล็ดพันธุ์ และการให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่ดี การห่มดิน ห่มน้ำ การตัด ต่อกิ่ง ต่อตาพืชยืนต้น
  2. ฐานการจัดการขยะ บ้านทุ่งศรี หมู่ 3 มีการจัดการขยะทุกครัวเรือนตามข้อตกลงของหมู่บ้าน และนำเอาขยะที่เหลือใช้ และขยะ สิ่งของต่างๆในชุมชน โดยจัดการจากต้นทางถึงปลายทาง จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยการแปรรูปจากขยะต่างๆ และสามารถเป็นวิทยากรในการจัดการขยะได้
  3. ฐานการทำบายศรี บายศรี เป็นเครื่องเชิญขวัญและรับขวัญต่างๆ ในพิธีทางพุทธศาสนา สมัยก่อน บายศรี ทำด้วยใบตอง มีรูปทรงต่างๆ นำมาต่อเป็นชั้นๆ ลดขนาดให้เป็นทรงสอบขึ้นไป มีเสาปักตรงกลางเป็นแกนสำหรับเสียบไข่ขวัญที่ปลายยอด และมีเครื่องสังเวยวางอ  ยู่ในบายศรีบ้านทุ่งศรี หมู่  3  ต.ทุ่งศรี มีการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาอยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำบายศรีให้กับคนรุ่นหลังเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป
  4. ฐานการเพาะเลี้ยงไส้เดือน/ธนาคารไส้เดือน

            ชาวบ้านบ้านทุ่งศรี หมู่ 3 ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตั้งธนาคารไส้เดือน เพื่อเพาะเลี้ยงไส้เดือน        ใน การกำจัดขยะมูลฝอย และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสปาไส้เดือนชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งธนาคารไส้เดือน โดย        จะนำไส้เดือนมารวบรวมไว้และเลี้ยงขยายพันธุ์ และให้สมาชิกยืมไปใช้ในกิจกรรมเช่น นำไปขาย นำไปผลิตปุ๋ย            นำไปทำกิจกรรมสปาไส้เดือน และปัจจุบันมีการเลี้ยงแยกในแต่ละครอบครัว  โดยใช้แนวทางสร้างสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาขยะในครัวเรือน ที่เป็นปัญหาของสังคม หมู่บ้านจึงได้มีการเลี้ยงไส้เดือนขึ้นมาเพื่อกำจัดขยะมูลฝอย ต่อมาได้มีการต่อยอดด้วยการผลิตปุ๋ยน้ำไส้เดือน ฉี่ไส้เดือน มูลไส้ดือน และตัวไส้เดือน นำมาขายสร้างรายได้ให้กับประชาชนอีกทางหนึ่ง เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นส่งผลให้ไส้เดือนไม่เพียงพอกับการใช้กิจกรรม ทั้งการส่งขาย การผลิตปุ๋ย และการทำสปาไส้เดือน จึงได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งธนาคารไส้เดือนขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมของหมู่บ้าน การกำจัดขยะมูลฝอย ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสปาไส้เดือน โดยเลี้ยงสายพันธุ์ไทยเก้อ และพันธุ์อัฟริกาไนท์  ในลำดับต่อไป

       5,ฐานฟาร์มโคเนื้อ ชาวบ้านทุ่งศรีได้เลี้ยงโคเนื้อไว้เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มในชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้ใช้เรียกชื่อว่า ธนาคารเดินได้ เนื่องจากทางกลุ่มได้ใช้พื้นที่ ที่มีไม่มากนัก มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยจะซื้อพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ มาผสมพันธุ์เอง และเพื่อส่งขายกับนายทุนที่มาซื้อ และมีการนำโคมาเลี้ยงแยกของแต่ละครอบครัว และมีโคกลางไว้ที่คอกเลี้ยงของกลุ่ม  แลมูลโคก็นำมาขายสำหรับผู้ที่สนใจนำไปทำปุ๋ย

6,ฐานปราชญ์ชาวบ้าน การตัดตุง มีการจัดฐานการเรียนรู้ปราชญ์ ด้านศิลปะหัตกรรม ประเพณี การทำตุง การทำเครื่องแขวน การทำบายศรี การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว โดยจัดให้มีการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ในฐานปราชญ์ชาวบ้านชุมชนบ้านทุ่งศรี ยังได้จัดเตรียมโฮมสเตย์ไว้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการพักผ่อนท่ามกลางท้องทุ่งนาและได้สัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวชุมชน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็นการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้เกิดความอยู่ดีมีสุข สามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 และยังสามารถเป็นชุมชนต้นแบบในการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถปฏิบัติตามให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป